ต้นกำเนิด เทคโนโลยี ถุงลมนิรภัย (AIR bag)

20 พฤศจิกายน 2561   2760

คงต้องย้อนไปเมื่อ 30 กว่าปีก่อน รถยนต์ของเมอร์เซเดสเบนซ์ รุ่น S Class เป็นรุ่นแรก ที่ได้รับการติดตั้งระบบถุงลมนิรภัย จากโรงงาน ที่ Sindelfingen ประเทศเยอรมนี โดย บริษัท เมอร์เซเดสเบนซ์ ได้ใช้เวลาพัฒนาค้นคว้าทดลองอยู่ถึง 13 ปี ด้วยกัน และถือเป็นก้าวใหม่ของความปลอดภัยในรถยนต์เลยก็ว่าได้

สถิติข้อมูลจากหน่วยงานจราจรเพื่อความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา (NHTSA) ได้ระบุไว้ว่า ถุงลมนิรภัยได้ปกป้องชีวิตของผู้ขับรถยนต์ได้ 28,000 กว่ารายในอเมริกา และจนเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 ถุงลมนิรภัยจึงกลายเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐานของรถยนต์ นับตั้งแต่นั้นมา
ส่วนในเยอรมัน มีการบันทึกสถิติในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2010 เทียบกับ ครึ่งปีแรกของปี 2009 สามารถลดการเกิดการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงลงได้จาก 1966 เป็น 1675 หรือ 15 % เลยทีเดียว

และเมื่อไม่นาน หน่วยงานจราจรเพื่อความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาวิจัย การทำงานของเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัย และได้ข้อสรุปผลว่า คนที่ใช้ถุงลมนิรภัย+เข็มขัดนิรภัยเมื่อไปเปรียบเทียบกับคนไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โอกาสที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรงถึงขั้นเสียชิวิตได้ลดลงถึง 61 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ เมอร์เซเดสเบนซ์ ก็เป็นเจ้าแรก ที่คิดระบบความปลอดภัยต้นแบบต่างๆ เช่น

  1. โปรแกรมการควบคุมทรงตัวอัตโนมัติ EPS (Electronic Stability Program)
  2. ระบบ PRE- SAFE หรือเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า การปกป้องก่อนเกิดอุบัติเหตุ โดยเริ่มติดตั้งครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2002
  3. ระบบถุงลมด้านข้าง เมอร์เซเดสเบนซ์ได้คิดค้นเติมเข้าไปอีก ระบบถุงลมนิรภัยป้องกันศีรษะ ซึ่งผลสำรวจผลออกมาว่าความเสี่ยงต่อชีวิตลดลงกว่าครึ่งเลยทีเดียว

ในปี1970 ได้เกิดมีคำถามถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากถุงลมนิรภัยกับผู้ใช้งาน จึงทำให้ค่ายรถหลายค่ายหยุดการพัฒนาถุงลมนิรภัย แต่ เมอร์เซเดสเบนซ์ ก็ยังคงพัฒนาอุปกรณ์นี้ต่อไป จนเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น และในปี 1980 รถยนต์ของค่ายเมอร์เซเดสเบนซ์ได้ประกาศใช้ถุงลมนิรภัยทุกรุ่นในสายการผลิต และตั้งแต่นั้นก็มีการค้นคว้าสำรวจการใช้ถุงลมนิรภัยอยู่ตลอด และในปี 2009 หน่วยงานจราจรเพื่อความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา ได้พูดถึงการใช้ถุงลมนิรภัย สามารถช่วยชีวิต

คนขับได้ถึง 23,127 คน โดย 13,999 คนไม่ได้คาดเข็มนิรภัย และผู้โดยสารตอนหน้า 5,115 คน โดยเป็นผู้ไม่ได้คาดเข็มขัดถึง 2,883 คน และจากการสำรวจ ถุงลมนิรภัยจะทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อผู้ใช้คาดเข็มขัดนิรภัยควบคู่ไปด้วย