เรื่องปะยางที่ควรต้องรู้

23 พฤศจิกายน 2561   2466

เรื่องปะยางที่ควรต้องรู้

รู้หรือไม่ว่าการปะยางนั้นมีอยู่2แบบด้วยซึ่งข้อดีข้อเสียแตกต่างกันซึ่งแตกต่างกันอย่างไรมาดู

การปะแบบสตีม และการปะแบบสอดใส้

การปะแบบสตีม แบ่งออกเป็น สตีมเย็น กับ สตีมร้อน

  • สตีมเย็น โดยการใช้ยางอีกแผ่นหนึ่งมาอุดรูรั่ว โดยนิยมใช้ยางจากที่ถูกทิ้งหรือไม่ใช้งานแล้ว มาติดกับยางในที่มีการรั่วซึม พอกาวแห้งสนิทก็นำยางไปสูบลมใช้งาน เหมาะกับการใช้กับพวกรถจักรยาน จักรยานยนต์
    ข้อดี ราคาถูก ตัวยางไม่เสียรูป และให้ความรู้สึกขับเหมือนเดิม
    ข้อเสีย ทนต่อความร้อนได้ต่ำ รับแรงดันลมได้ไม่มาก ผลที่ตามมาคือการรับน้ำหนักได้น้อย
  • สตีมร้อน ใช้ยางปะชนิดพิเศษ ผ่านการหลอมด้วยความร้อน แล้วเอามาประกบกับรอยแผล และใช้เครื่องมือในกดแผ่นยางติดกับยางรถกดให้ติดสนิทแน่นและนำไปสูบลมใช้งาน ใช้ได้กับรถจักยานยนต์ไปถึงรถบรรทุก
    ข้อดี สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก สูบลมได้เต็มที่
    ข้อเสีย ตอนปะความร้อนอาจจะทำให้โครงสร้างของยางเสียหายได้ถ้ายางเป็นแบบไม่มียางใน และแบบที่มียางในก็จะเกิดความเสียหายของยางรอบๆ บริเวณที่ปะที่ถูกความร้อน

การปะแบบสอดไส้ คือเอายางที่รั่วมาถอดเอาของที่ทิ่มแทงออกไป และใช้ตะไบทำความสะอาดรูรั่ว และใช้เส้นยางผสมกับใยสังเคราะห์มาชุบลงกับน้ำยา ที่มีส่วนผสมของยางดิบ และกาวสำหรับประสาน จากนั้นก็ใช้เครื่องมือแทงยัดเส้นยางเข้าไปอัดในรูรั่ว การปะแบบสอดใส้ เป็นการปะแบบชั่วคราว ดังนั้นอาจรั่วใหม่ได้ ถ้ารั่วอีกก็ปะใหม่

  • ข้อดี ปะได้โดยไม่ต้องถอดกระทะล้อออกจากรถ ทำให้น๊อตล้อและกระทะล้อไม่ช้ำ ประหยัดเวลา ถ่วงล้อได้ง่าย ราถูก
  • ข้อเสีย มีข้อจำกัดสามารถใช้กับยางที่ไม่มียางในเท่านั้น และเรื่องการรับน้ำหนักสู้แบบสตีมร้อนไม่ได้

**ยางรถยนต์ที่ชำรุด จากถูกตะปูตำ สามารถซ่อมแซมได้เฉพาะในส่วนหน้ายางที่สัมผัสกับถนนเท่านั้น ไม่ควรปะยางบริเวณแก้มยาง เพราะยางมีการยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ยางอาจแตกหรือระเบิดได้ง่าย

ยางที่สามารถปะซ่อมได้ ควรมีความลึกของดอกไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร แผลความกว้างไม่เกิน 6 มิลลิเมตร

  • ไม่ควรปะยางทับซ้อนรอยแผลเดิม

ขอบคุณข้อมูลและที่มาจาก http://www.heremoo.com/